วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551

รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ชื่อเรื่อง                  รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วนวิชาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้ศึกษาค้นคว้า    นางสาวพิมพ์พรรณ  เก็บเจริญ

ปี พ.ศ.                    2550                    โรงเรียนอนุบาลลำพูน   

เขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต 1  จังหวัดลำพูน

 บทคัดย่อ

               การค้นหารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ โดยยึด          ผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่ง  ดังนั้น           ผู้ศึกษาค้นคว้าจึงได้ทำการศึกษาค้นคว้าเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร  เศษส่วนวิชาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยมีความมุ่งหมาย   1)เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วนวิชาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80    2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเศษส่วนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะที่ผู้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาขึ้นกับการสอนแบบปกติ   3)  เพื่อศึกษาความคงทนของการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ที่เรียนคณิตศาสตร์การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ

                กลุ่มเป้าหมายของการศึกษาค้นคว้าเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ภาคเรียนที่ 1                 ปีการศึกษา 2550  โรงเรียนอนุบาลลำพูน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1  จังหวัดลำพูน   จำนวน 36  คน   เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย   1) แผนการสอนแก้โจทย์ปัญหาการบวก  ลบ  คูณ หาร เศษส่วน วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 13 แผน                    2) แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ  คูณ หาร เศษส่วน วิชาคณิตศาสตร์                ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 5 ชุด      3 ) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่ามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะที่ผู้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาขึ้นสูงกว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ  อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.1

 

การใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำประสมสระเสียงยาว

ชื่อเรื่องการศึกษา                การใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำประสมสระเสียงยาวสำหรับชั้น ประถมศึกษาปีที่  1

ชื่อผู้เขียน                        ภารวีย์     ทะหล้า

 

บทคัดย่อ

 

                การศึกษาศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1  และหาประสิทธิภาพของแบบฝึก  ยังได้เปรียบเทียบการฝึกอ่านก่อนและหลังจะมีผลเป็นอย่างไร

                ผู้วิจัยได้ทำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสระเสียงยาว  จำนวน  5  ชุดๆ ละ  10  กิจกรรม  ได้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้อง  ความตรงเนื้อหาจุดประสงค์  จัดทำแบบทดสอบนักเรียนโรงเรียนบ้านศรีป้าน  โรงเรียนวัดกู่เส้า  โรงเรียนอนุบาลลพูน  ได้ผลการศึกษาจัดทำแบบฝึกมีค่า          =  41.35  สูงขึ้นหลังฝึกและมีค่า S.D  น้อยลง  แบบทดสอบมีคุณภาพอย่งมีนัยสำคัญทางสถิติ .01  และใช้เป็นแบบฝึกทักษะต่อไปได้

                ผลการศึกษา  คือ

1.             แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสระเสียงยาวได้สร้างอย่างมีคุณภาพและสามารถช่วยให้นักเรียนมีการพัฒนาสูงขึ้น

2.             ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังและก่อนได้พัฒนาต่างมีคุณภาพ มีค่าการพัฒนาหลังใช้แบบฝึกมีนัยสำคัญทางสถิติ  .01

3.             การสร้างแบบฝึกมีประสิทธิภาพ ค่า        ก่อนฝึก 81.30  และค่า        หลังฝึก  86.00  ซึ่งเป็นค่าการพัฒนาสูงกว่าเกณฑ์กำหนด  สามารถนำไปใช้เป็นแบบทดสอบต่อไปได้

 

 

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551

การสร้างและการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์


ชื่อเรื่อง                 การสร้างและการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม  เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2 โรงเรียนอนุบาลลำพูน ภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา  2550

ชื่อผู้เขียน              นางจันทร์พิมพ์ มาอินทร์

 

                        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและศึกษาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนอนุบาลลำพูน     ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2550   และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม โดยสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์  เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2   โรงเรียนอนุบาลลำพูน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2550  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  สำหรับใช้ในการประกอบการจัดการเรียนรู้

                กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประมัธยมศึกษาปีที่2 โรงเรียนอนุบาลลำพูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต 1 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2550 จำนวน  62  คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ได้นักเรียนที่มีผลการเรียน เก่ง  ปานกลาง และอ่อนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  จำนวนนักเรียน  30  คน 

                เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น คือ หนังสืออ่านเพิ่มเติม  8 เรื่อง จำนวน  16  ชั่วโมง แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป ได้แก่ E1/E2 ผลการศึกษาพบว่า ค่าประสิทธิภาพที่ได้คือ  88.58/84.67  สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งคือ  80/80   และนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.01 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม อยู่ในระดับมาก

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551

รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้ หลักไวยากรณ์ Present Simple Tense

ชื่อเรื่อง         รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้หลักไวยากรณ์ Present Simple Tense สำหรับนักเรียนชั้น         มัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้รายงาน      นางบุบผา  อินต๊ะขัติย์

ตำแหน่ง       ครู  คศ.2  วิทยฐานะ ชำนาญการ  โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา

 

บทคัดย่อ

 

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้หลักไวยากรณ์ Present Simple Tense สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนและเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในด้านการเขียนภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้หลักไวยากรณ์ Present Simple Tense  ภาคเรียนที่ 1

ปีการศึกษา 2550

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา

อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน  ซึ่งกำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 43 คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้หลักไวยากรณ์ Present Simple Tense แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และผู้ใช้แบบฝึกทักษะ   สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล

 ได้แก่  การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ E1 / E2  เปรียบเทียบความก้าวหน้าทางการเรียน

โดยใช้ค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและนักเรียนที่ใช้แบบฝึกทักษะโดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

จากการศึกษาปรากฏผลดังนี้  

1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้หลักไวยากรณ์Present Simple Tense มีค่าเท่ากับ 82.14/79.82 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่า แบบฝึกทักษะที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย ( 31.93) สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเรียน (= 23.14) และทำการทดสอบค่าที (t-test) พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  3)  ความคิดเห็นของนักเรียนหลังจากที่ใช้แบบฝึกทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.65, S.D. = 0.55 )

 

 

Title       :   Result’s Report of using English Writing Skill Exercises by using

      Present Simple Tense for Mattayom Suksa 2 Students

Author   :   Mrs. Bubpha Intakat

Position  :  Teacher 2  Wiangjedeewittaya School

 

ABSTRACT

 

The purposes of this study were to design and to find the efficiency of English Writing Skill Exercises by using Present Simple Tense for Mattayom Suksa 2 students, to compare the students’ English writing skill achievement between pretest and posttest scores after using English Writing Skill Exercises by using Present Simple Tense and to study the students’ satisfaction after using English Writing Skill Exercises by using Present Simple Tense.

The target group was 43 Mattayom Suksa 2 students of Wiangjedeewittaya School, Li District, Lamphun Province in the first semester of Academic Year B.E. 2550. The instruments used consisted of  English Writing Skill Exercises by using Present Simple Tense, a writing skill achievement test and the satisfaction’s questionnaire for the examining committee and the students.  The collected data were analyzed by using Efficiency Evaluation, t-test, percentages, means and standard deviations. 

The major findings of the study were as follows :

1. The Efficiency of the English Writing Skill Exercises by using Present Simple Tense

Grammar was 82.14/79.82 compared with the criterion 80/80 found that English Writing Skill Exercises by using Present Simple Tense was effective as the circumstance allow.

2.  The students’ learning achievement after using English Writing Skill Exercises by using Present Simple Tense was average ( 31.93) higher than before learning’s average

(= 23.14)  and the t-test score was different significantly at the level of .01

3. The students’ opinion after using English Writing Skills Exercises by using Present Simple Tense was in the highest level at the average (= 4.65, S.D. = 0.55 )

การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องชีวิตพอเพียงเลี้ยงผึ้งพันธุ์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ลำพูน เขต 2

ชื่อผลงาน    การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องชีวิตพอเพียงเลี้ยงผึ้งพันธุ์  สำหรับ                นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา     สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ลำพูน เขต 2

ผู้ศึกษา         นางสุกานดา   เหล่าทอง  ตำแหน่งครูชำนาญการ  ระดับ คศ.2             โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2   

บทคัดย่อ

               

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ชีวิตพอเพียงเลี้ยงผึ้งพันธุ์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา  อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน เพื่อเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน วิชาเพิ่มเติม รายวิชา เศรษฐกิจพอเพียงการสร้างรายได้  ส 40216 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5/3  โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา  อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2550  จำนวน 36  คน เครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษาประกอบด้วย (1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ชีวิตพอเพียงเลี้ยงผึ้งพันธุ์ (2) แบบประเมินคุณภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ชีวิตพอเพียงเลี้ยงผึ้งพันธุ์   สำหรับผู้เชี่ยวชาญและครูผู้สอน   (3) แบบประเมินแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบแบบ 4 คำตอบ สำหรับผู้เชี่ยวชาญ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง ชีวิตพอเพียงเลี้ยงผึ้งพันธุ์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า  t-test

 ผลการศึกษาพบว่า ผู้เชี่ยวชาญและนักเรียน มีความเห็นว่าเนื้อหาและการใช้ภาษาของหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องชีวิตพอเพียงเลี้ยงผึ้งพันธุ์มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก    ด้านการจัดภาพและรูปเล่ม  ผู้เชี่ยวชาญและนักเรียน   มีความเห็นอยู่ในระดับมากเช่นกัน  สำหรับประโยชน์การนำไปใช้กลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มมีความเห็นว่าอยู่ในระดับมากที่สุด

 

 

การใช้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทาง วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ชื่อเรื่อง   การใช้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทาง                             วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ชื่อผู้เขียน     นางสมพร  ตันวิพงษ์ตระกูล 

โรงเรียน       ชุมชนบ้านป่าไผ่   อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน    สำนักงานเขตพื้นที่                     การศึกษาลำพูน เขต 2

 

บทคัดย่อ

 

                  การศึกษาเรื่อง  การใช้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์การศึกษา 3 ประการ คือ 1) เพื่อสร้างและใช้เกมวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5    2)  เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ก่อนและหลังการใช้เกมวิทยาศาสตร์   และ 3) เพื่อประเมินพฤติกรรมของนักเรียนที่มีต่อการใช้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5     

                        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2  ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนชุมชนบ้านป่าไผ่ อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต  2  จำนวน 25  คน โดยใช้เวลาเรียนในชั่วโมงสอนซ่อมเสริม วันละ1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น  20  ชั่วโมง  

                        เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่  เกมวิทยาศาสตร์ จำนวน 18 ชุด    แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และแบบประเมินพฤติกรรมทางความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ซึ่งเครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพและได้รับความเห็นชอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน โดยร้อยละ 80 เห็นว่า  มีความเหมาะสมเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและโครงสร้าง ซึ่งแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.812   โดยผู้ศึกษาทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการปฏิบัติกรรมของนักเรียน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าร้อยละของพฤติกรรมที่แสดงออกของนักเรียนในระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมโดยการใช้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

                        ผลการศึกษาพบว่า

1.       ได้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 18 ชุด  ดังนี้คือ              ชุดที่ 1 เอกลักษณ์เฉพาะตัว ได้แก่ 1) จับผิดภาพ 2)  ภาพสัญลักษณ์  3)  ประสาทสัมผัส  ชุดที่  2  ความสัมพันธ์เชื่อมโยง ได้แก่ 4)  ครอบครัวสัตว์โลก  5) โดมิโนสารอาหาร 6)  นักสำรวจน้อย  ชุดที่ 3  การแก้ปัญหา  ได้แก่ 7) จัตุรัสแสนกล  8)  ปริศนาซ่อนภาพ  9)  ปริศนาหาเหตุผล ชุดที่ 4  การทำนายและสมมติอย่างมีเหตุผล  ได้แก่  10) มิติสัมพันธ์  11)  นักสื่อสาร  12 ) นักจินตนาการ 13)  นักพยากรณ์น้อย ชุดที่ 5  จินตนาการอย่างสร้างสรรค์ได้แก่ 14) จุดมหัศจรรย์ 15) สนุกกับตัวเลข  16) กระดาษเจ็ดชิ้น 17)                                                                                                          ยอดนักประดิษฐ์  และ 18) นักเขียนรุ่นเยาว์   ซึ่งในการสร้างชุดเกมวิทยาศาสตร์ดังกล่าวนั้น ผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาหลักสูตรเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นให้ผู้เรียนทุกคนจะได้รับการส่งเสริมให้พัฒนากระบวนการคิด ความสามารถในการเรียนรู้ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ โดยถือว่ามีความสำคัญควบคู่การเรียนในสถานศึกษา  และเป้าหมายสำคัญในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ  ความสามารถในการแก้ปัญหาและจัดการ ทักษะใน

การสื่อสารและความสามารถในการตัดสินใจ  จากแนวคิดดังกล่าวจึงนำไปสู่การสร้างเกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   และวิเคราะห์การออกแบบเกมวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับโครงสร้างเนื้อหาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ระดับช่วงชั้นที่  2 (ป.4-6)  และองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ทั้ง 4  ด้าน คือ ความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น ความคิดริเริ่มและความละเอียดลออ โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการสืบเสาะหาความรู้ จากนั้นผู้ศึกษาได้นำชุดเกมวิทยาศาสตร์ดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน (รายชื่อในภาคผนวก  )  ให้คำแนะนำเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญร้อยละ 80  มีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า ชุดเกมวิทยาศาสตร์ที่สร้างขึ้นมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและโครงสร้าง เหมาะสมสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 

2.       ผลการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ พบว่า หลังจากการใช้เกมวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 4  องค์ประกอบ ได้แก่ ความคิดคล่อง  ความคิดยืดหยุ่น ความคิดริเริ่ม และความคิดละเอียดลออ สูงกว่าก่อนการใช้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.       ผลจากการสังเกตและประเมินพฤติกรรมของนักเรียนทางความคิดสร้างสรรค์ที่แสดงออกในขณะใช้เกมวิทยาศาสตร์ พบว่า พฤติกรรมทางความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่แสดงออกในระหว่างการใช้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถเรียงลำดับพฤติกรรมทางความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่แสดงออกจากมากไปน้อย ดังนี้คือ สนุกสนานกับการใช้ความคิด มีสมาธิดีในสิ่งที่ตนเองสนใจ และถ้ามีสิ่งใดสงสัยก็จะถามหรือพยายามคิดหาคำตอบ มีความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้น ชอบเสาะแสวงหา  สำรวจ ศึกษาค้นคว้าและมีความคิดเป็นของตนเอง สนใจสิ่งต่างๆอย่างกว้างขวาง ชอบซักถามและถามคำถามแปลกๆ ช่างสงสัยเป็นเด็กที่มีความรู้แปลกผิดปกติและมีอารมณ์ขัน มองสิ่งต่างๆ ในแง่มุมที่แปลก ตามลำดับ