วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551

การสร้างหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำยากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแม่เทย


ชื่อเรื่อง :การสร้างหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำยาก สำหรับ

นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแม่เทย
ผู้ประเมิน : นางสาวกชวรรณ กัณทาพันธุ์
ปีที่ประเมิน : 2550

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษไทย เรื่องการสร้างหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่านและเขียน
คำยาก สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแม่เทย ตำบลแม่ตืน อำเภอ ลี้ จังหวัดลำพูน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ประชากรคือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 คน


เครื่องมือที่ใช้
คือ แผนการจัดการเรียนรู้ หนังสือเสริมประสบการณ์จำนวน 4 เล่ม แบบฝึกทักษะ 4 ชุด แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของหนังสือเสริมประสบการณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าความเที่ยงตรง ค่าประสิทธิภาพ ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อสร้างหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะ การอ่านและเขียนคำยาก สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังด้วยหนังสือเสริม
ประสบการณ์ พัฒนาทักษะ การอ่านและเขียนคำยาก
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่านและเขียน
คำยากในสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. หนังสือเสริมประสบการณ์ จำนวน 5 เล่ม
2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนพัฒนาทักษะการอ่าน และการเขียนคำยากแบบเติมคำ
ตอบจำนวน 40 ข้อ จำนวน 2 ฉบับ
3.แบบฝึกระหว่างเรียนจากหนังสือเสริมประสบการณ์ การพัฒนาการอ่าน และการเขียนคำยาก
จำนวน 5 ชุด
4 .แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาการอ่าน และการเขียน
คำยากจำนวน 1 ฉบับ

สถิติที่ใช้ในการศึกษา
1. หาประสิทธิภาพของหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำยาก โดยใช้โดยการหาค่า IOC ( Index of Item and Objective Congruence)
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หาความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์โดยใช้สูตร ค่าเฉลี่ย ( Mean )
3. การประเมินความพึงพอใจของหนังสือเสริมประสบการณ์ นำเสนอในรูปของตารางประกอบการบรรยาย

สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของใช้หนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำยาก ที่จัดทำขึ้นจำนวน 4 เรื่อง ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80 ปรากฏว่าได้ค่าเฉลี่ยของเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพด้านทักษะการอ่านคำยาก เท่ากับ 80.25/84.5 มีประสิทธิภาพด้านทักษะการเขียน คำยาก เท่ากับ 80.5/85.5 จึงสรุปได้ว่าประสิทธิภาพของ เสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำยากสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดแสดงว่าหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำยากที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเชื่อถือได้
2 . การเปรียบเทียบหาความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์โดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mu) คิดเป็นร้อยละ 85.5
3 . ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือเสริมประสบการณ์ มีระดับความคิดเห็นในระดับภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ที่คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 แสดงว่านักเรียนที่ได้เรียนรู้จากหนังสือเสริมประสบการณ์มีความพึงพอใจต่อการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ โดยเฉพาะเรื่องของการให้แนวทางในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดที่ระดับคะแนน 4.95

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษา

1.ได้หนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1
2 .ทราบผลการพัฒนาการอ่านและการเขียนคำยากของนักเรียนจากการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์
พัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำยาก
3 .ได้แนวทางสำหรับครูผู้สอนภาษาไทยในการแก้ไขและพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียน







6 ความคิดเห็น:

Sakorn กล่าวว่า...

รายงานน่าสนใจมากคะ เหมาะสมแก่การนำไปใช้ ขอชื่นชมคะ / อ.สาคร พงษ์พุก ร.ร.ทาขุมเงินวิทยาคาร จ.ลำพูน

บัวลอย กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
Warangkana กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
อ.สุคนธ์ กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
อ.นิพนธ์ กล่าวว่า...

รายงานการวิจัยสามารถนำไปพัฒนาทักษะของนักเรียนได้ ถือว่าเป็นรายงานที่ดีมากครับ / อ.นิพนธ์ ร.ร.ป่าซาง จ.ลำพูน

Unknown กล่าวว่า...

ไม่เห็นมีการนำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมาเปรียบเที่ยบกับเกณฑ์เลย