วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551

การใช้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทาง วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ชื่อเรื่อง   การใช้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทาง                             วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ชื่อผู้เขียน     นางสมพร  ตันวิพงษ์ตระกูล 

โรงเรียน       ชุมชนบ้านป่าไผ่   อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน    สำนักงานเขตพื้นที่                     การศึกษาลำพูน เขต 2

 

บทคัดย่อ

 

                  การศึกษาเรื่อง  การใช้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์การศึกษา 3 ประการ คือ 1) เพื่อสร้างและใช้เกมวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5    2)  เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ก่อนและหลังการใช้เกมวิทยาศาสตร์   และ 3) เพื่อประเมินพฤติกรรมของนักเรียนที่มีต่อการใช้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5     

                        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2  ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนชุมชนบ้านป่าไผ่ อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต  2  จำนวน 25  คน โดยใช้เวลาเรียนในชั่วโมงสอนซ่อมเสริม วันละ1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น  20  ชั่วโมง  

                        เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่  เกมวิทยาศาสตร์ จำนวน 18 ชุด    แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และแบบประเมินพฤติกรรมทางความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ซึ่งเครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพและได้รับความเห็นชอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน โดยร้อยละ 80 เห็นว่า  มีความเหมาะสมเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและโครงสร้าง ซึ่งแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.812   โดยผู้ศึกษาทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการปฏิบัติกรรมของนักเรียน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าร้อยละของพฤติกรรมที่แสดงออกของนักเรียนในระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมโดยการใช้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

                        ผลการศึกษาพบว่า

1.       ได้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 18 ชุด  ดังนี้คือ              ชุดที่ 1 เอกลักษณ์เฉพาะตัว ได้แก่ 1) จับผิดภาพ 2)  ภาพสัญลักษณ์  3)  ประสาทสัมผัส  ชุดที่  2  ความสัมพันธ์เชื่อมโยง ได้แก่ 4)  ครอบครัวสัตว์โลก  5) โดมิโนสารอาหาร 6)  นักสำรวจน้อย  ชุดที่ 3  การแก้ปัญหา  ได้แก่ 7) จัตุรัสแสนกล  8)  ปริศนาซ่อนภาพ  9)  ปริศนาหาเหตุผล ชุดที่ 4  การทำนายและสมมติอย่างมีเหตุผล  ได้แก่  10) มิติสัมพันธ์  11)  นักสื่อสาร  12 ) นักจินตนาการ 13)  นักพยากรณ์น้อย ชุดที่ 5  จินตนาการอย่างสร้างสรรค์ได้แก่ 14) จุดมหัศจรรย์ 15) สนุกกับตัวเลข  16) กระดาษเจ็ดชิ้น 17)                                                                                                          ยอดนักประดิษฐ์  และ 18) นักเขียนรุ่นเยาว์   ซึ่งในการสร้างชุดเกมวิทยาศาสตร์ดังกล่าวนั้น ผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาหลักสูตรเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นให้ผู้เรียนทุกคนจะได้รับการส่งเสริมให้พัฒนากระบวนการคิด ความสามารถในการเรียนรู้ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ โดยถือว่ามีความสำคัญควบคู่การเรียนในสถานศึกษา  และเป้าหมายสำคัญในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ  ความสามารถในการแก้ปัญหาและจัดการ ทักษะใน

การสื่อสารและความสามารถในการตัดสินใจ  จากแนวคิดดังกล่าวจึงนำไปสู่การสร้างเกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   และวิเคราะห์การออกแบบเกมวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับโครงสร้างเนื้อหาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ระดับช่วงชั้นที่  2 (ป.4-6)  และองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ทั้ง 4  ด้าน คือ ความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น ความคิดริเริ่มและความละเอียดลออ โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการสืบเสาะหาความรู้ จากนั้นผู้ศึกษาได้นำชุดเกมวิทยาศาสตร์ดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน (รายชื่อในภาคผนวก  )  ให้คำแนะนำเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญร้อยละ 80  มีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า ชุดเกมวิทยาศาสตร์ที่สร้างขึ้นมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและโครงสร้าง เหมาะสมสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 

2.       ผลการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ พบว่า หลังจากการใช้เกมวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 4  องค์ประกอบ ได้แก่ ความคิดคล่อง  ความคิดยืดหยุ่น ความคิดริเริ่ม และความคิดละเอียดลออ สูงกว่าก่อนการใช้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.       ผลจากการสังเกตและประเมินพฤติกรรมของนักเรียนทางความคิดสร้างสรรค์ที่แสดงออกในขณะใช้เกมวิทยาศาสตร์ พบว่า พฤติกรรมทางความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่แสดงออกในระหว่างการใช้เกมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถเรียงลำดับพฤติกรรมทางความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่แสดงออกจากมากไปน้อย ดังนี้คือ สนุกสนานกับการใช้ความคิด มีสมาธิดีในสิ่งที่ตนเองสนใจ และถ้ามีสิ่งใดสงสัยก็จะถามหรือพยายามคิดหาคำตอบ มีความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้น ชอบเสาะแสวงหา  สำรวจ ศึกษาค้นคว้าและมีความคิดเป็นของตนเอง สนใจสิ่งต่างๆอย่างกว้างขวาง ชอบซักถามและถามคำถามแปลกๆ ช่างสงสัยเป็นเด็กที่มีความรู้แปลกผิดปกติและมีอารมณ์ขัน มองสิ่งต่างๆ ในแง่มุมที่แปลก ตามลำดับ

 

ไม่มีความคิดเห็น: